กองอาสารักษาดินแดน (HGF) หรือในภาษาพม่าเรียกว่า ปฺยี่ตู๊ซิ๊ต กลุ่มแสงแก้วและกลุ่มเมิงเคอ กลับคืนสู่รัง พรรคก้าวหน้ารัฐฉาน/กองทัพรัฐฉาน (SSPP/SSA)

 



วันที่ 5 กันยายน 2024 เวลา 08.00 . กองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์ (Ethnic Armed Organizations: EAOs) ในรัฐฉาน กลุ่มพรรคก้าวหน้ารัฐฉาน/กองทัพรัฐฉาน (Shan State Progressive Party/Shan State Army: SSPP/SSA) นำโดย พลเอก เสอ แทน (General  Soe Ten) ผู้อุปถัมภ์ พรรคก้าวหน้ารัฐฉาน/กองทัพรัฐฉาน (Shan State Progressive Party/Shan State Army: SSPP/SSA)  พลเอก ป่าง ฟ้า (General Pang Fa) ประธาน พรรคก้าวหน้ารัฐฉาน/กองทัพรัฐฉาน (Shan State Progressive Party/Shan State Army: SSPP/SSA) และคณะกรรมการกองบัญชาการกลาง พรรคก้าวหน้ารัฐฉาน/กองทัพรัฐฉาน (Shan State Progressive Party/Shan State Army: SSPP/SSA) พร้อมด้วย กำลังพล นักเรียนทหาร เยาวชนนักเรียน และประชาชน ได้จัดพิธีต้อนรับ กำลังพลจากกองอาสารักษาดินแดน (Home Guard Force: HGF) หรือในภาษาพม่าเรียกว่า ปฺยี่ตู๊ซิ๊ต หน่วยอาสาสมัครประชาชน (People’s Militia Force: PMG) เขตการปกครองที่ 22 มีเขตการควบคุมพื้นที่ตำบลมายเค (ภาษาถิ่นเรียกว่าเมิงเคอ) เขตเมืองตี่ปอ (ภาษาถิ่นเรียกว่าสี่ป้อ) แขวงจ๊อกแม รัฐฉานตอนเหนือ และหน่วยอาสาสมัครประชาชน (People’s Militia Force: PMG) เขตการปกครองที่ 23 มีเขตการควบคุมพื้นที่ตำบลสิ่นจฺย้อ (ภาษาถิ่นเรียกว่าแสงแก้ว) เขตเมืองตี่ปอ (ภาษาถิ่นเรียกว่าสี่ป้อ) แขวงจ๊อกแม รัฐฉานตอนเหนือ นำโดย พลเอก ล๋อย มาว (General Loi Mao) หัวหน้าหน่วยอาสาสมัครประชาชน (People’s Militia Force: PMG) เขตการปกครองที่ 23 เนื่องในโอกาสที่ได้ตัดสินใจกลับมาร่วมพรรคก้าวหน้ารัฐฉาน/กองทัพรัฐฉาน (Shan State Progressive Party/Shan State Army: SSPP/SSA) อีกครั้ง ณ กองบัญชาการกลาง บ้านไฮ เขตเมืองเจตี (ภาษาถิ่นเรียกว่าเกซี) แขวงมายชู (ภาษาถิ่นเรียกว่าเมิงสู้) รัฐฉานตอนใต้ 






การรัฐประหารของ พลเอก เน วิน (General Ne Win) ในปี 1962 ที่ประกาศว่ากองทัพเบอร์มา (ภาษาพม่าเรียกว่าตั๊ดม่ะด่อ) จะเข้ามาดูแลและรับผิดชอบในเรื่องความมั่นคงของประเทศ และได้ประกาศยุบรัฐสภา รวมถึงล้มล้างรัฐธรรมนูญ ปี ค.ศ. 1948 ที่บรรจุข้อตกลงสนธิสัญญาปางโหลง (Panglong Agreement) เอาไว้ด้วย [สนธิสัญญาปางโหลง ปี 1947 เป็นความตกลงระหว่าง พม่า ไต (ไทใหญ่) ชิน และกะฉิ่น ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการประชุม ณ เมืองป๋างโหลง (ทางตอนใต้รัฐฉาน) เพื่อจัดตั้ง สหภาพเบอร์มา (Union of Burma) ภายหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ] อีกทั้งยังมีการจับขังนักการเมืองสําคัญและผู้นําชาติพันธุ์ต่างๆ และยุบพรรคการเมืองและองค์กรทางการเมืองทั้งหมด โดยได้ระบุให้มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวคือ พรรคโครงการสังคมนิยมเบอร์มา (Burma Socialist Program Party: BSPP) ซึ่งช่วงระยะเวลาของการปกครองโดยทหารทําให้รัฐฉาน  (Shan State) ต้องเผชิญกับการยึดครองและการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ ส่งผลให้ชาวไต (ไทใหญ่) ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลักลุกขึ้นมาต่อสู้ และได้ก่อตั้งกองกำลังของตนขึ้นมามากมาย โดยส่วนใหญ่ระบุว่าเป็น ‘กองกำลังกู้ชาติ’ การเคลื่อนไหวดังกล่าวได้เกิดขึ้นอย่างชัดเจนในปี 1958 ภายใต้กองกําลังกู้ชาติหนุ่มศึกหาญ (Noom Suk Harn) ของเจ้าน้อย หรือ ซอ หยั่น ต๊ะ (Saw Yan Da) และได้เกิดกองกำลังตามมาอีกหลายกองกำลัง ไม่ว่าจะเป็น กองทัพเอกราชรัฐฉาน (Shan State Independent Army: SSIA) ในปี 1960 กองกำลังสหภาพแห่งชาติฉาน (Shan National Union Force: SNUF) ในปี 1961 และกองทัพแห่งชาติฉาน (Shan National Army: SNA) เป็นต้น ต่อมาในปี 1964 เจ้านางเฮือนคำ (Sao Nang Hearn Kham) ชายาของเจ้าฟ้ากัมโพชรัฐสิริปวรมหาวงศาสุธรรมราชา [เจ้า ชฺเว่ แต้ก (Sao Shwe Thaik)] เจ้าฟ้าองค์สุดท้ายของเมืองหญ่องชฺเว่ (ภาษาถิ่นเรียกว่าหยองห้วย) และประธานาธิบดีคนแรกแห่งสหภาพเบอร์มา (รักษาการ) ได้มีความพยายามชักนํากลุ่มกองกำลังกู้ชาติกลุ่มต่างๆ ข้างต้นมารวมกันเป็นองค์กรเดียวกัน เรียกว่า กองทัพรัฐฉาน (Shan State Army: SSA) แต่แม้ว่าจะใช้ชื่อเดียวกัน แต่ต่างฝ่ายต่างมีสิทธิในการบังคับบัญชาการกองกำลังทหารของตนเอง จึงทําให้ประสบปัญหาความแตกแยกในเวลาต่อมา [เมื่อวันที่ 20 มกราคม 1969 กองกำลังสหภาพแห่งชาติฉาน  (Shan National Union Force: SNUF) โดย นายพล โม เฮง (General Moh Heng) แยกออกเปลี่ยนชื่อเป็น กองกําลังปฏิวัติของรัฐฉาน (Shan United Revolution Army: SURA)] ต่อมาเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 1971 กองทัพรัฐฉาน (Shan State Army: SSA) ได้ก่อตั้งองค์กรทางการเมืองนำการทหาร ชื่อว่า พรรคก้าวหน้ารัฐฉาน (Shan State Progressive Party: SSPP) โดยมี เจ้า เสือ เลน (Sao Suea Lan) เป็นชาวดารฺอั้งหรือปะหล่อง เป็นประธาน และต่อมาในปี 1975 เกิดความเห็นต่างทางการเมือง สมาชิกพรรคก้าวหน้ารัฐฉาน/กองทัพรัฐฉาน (Shan State Progressive Party/Shan State Army: SSPP/SSA) แตกออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งยังยึดมั่นอุดมการณ์เดิม อีกฝ่ายหนึ่งเข้าร่วมกับ พรรคคอมมิวนิสต์เบอร์มา (Communist Party of Burma: CPB) โดย ป๊ะ เตง ติ่น (Ba Thein Tin) เป็นประธาน ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ในรัฐฉานติดชายแดนจีน [นับตั้งแต่ปี 1975 ภายในรัฐฉานเกิดการต่อสู้กันของกลุ่มกองกําลังทั้งสอง เนื่องจากความแตกต่างทางอุดมการณ์ทางการเมือง ระหว่าง สังคมนิยม (คอมมิวนิสต์) และ เสรีนิยม (ประชาธิปไตย)] ต่อมาในวันที่ 17 เมษายน 1989 ที่เมืองปั่นซาน (ภาษาถิ่นเรียกว่าป๋างซางหรือป๋างคำ) ฐานที่มั่นใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์เบอร์มา (Communist Party of Burma: CPB) เจ้า หญี่ลาย (Zhao Nyilai) อดีตกรรมการกรมการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์เบอร์มา (Communist Party of Burma: CPB) เพียงหนึ่งเดียวที่เป็นสหายชาวว้า ผู้บัญชาการกองพลน้อยที่ 12 กับ เปา โหย่ว-ฉ่าง (Bao You-Xiang) หมายเลข 1 ตัวจริงที่ทรงอำนาจที่สุด ผู้บัญชาการกองพลน้อยที่ 683 นำกองกำลังติดอาวุธแนวร่วม 'กลุ่มชาติพันธุ์ว้า' ของพรรคคอมมิวนิสต์เบอร์มา (Communist Party of Burma: CPB) แยกตัวออกมาก่อตั้งกองกำลังอิสระ เป็น กองทัพสหรัฐว้า (United Wa State Army: UWSA) และก่อตั้งพรรคสหรัฐว้า (United Wa State Party: UWSP) ขึ้นเป็นเข็มทิศชี้นำการเมืองและยุทธศาสตร์ จึงทำให้พรรคคอมมิวนิสต์เบอร์มา (Communist Party of Burma: CPB) ซึ่งต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธในพื้นที่ชายแดนเบอร์มามาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ต้องล่มสลาย [รัฐบาลทหารเบอร์มาปกครองภายใต้ชื่อ สภาฟื้นฟูกฎหมายและกฎระเบียบแห่งรัฐ (State Law and Order Restoration Council: SLORC) คณะบุคคลที่บริหารประเทศที่กองทัพเบอร์มา (ภาษาพม่าเรียกว่าตั๊ดม่ะด่อ) จัดตั้งขึ้นหลังจากการปราบปรามผู้ประท้วงอย่างรุนแรงเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1988 หรือที่เรียกว่า ‘8888’ ได้ดำเนินการเจรจาสันติภาพกับพรรคสหรัฐว้า/กองทัพสหรัฐว้า (United Wa State Party/United Wa State Army: UWSP/UWSA) จนนำไปสู่การลงนามข้อตกลงสันติภาพ (ภาษาพม่าเรียกว่าเญ็งชานเย) และกำหนดพื้นที่ปกครอง เพื่อรอเข้าสู่กระบวนการเจรจาทางการเมือง และเมื่อวันที่ พฤษภาคม 1989 พรรคสหรัฐว้า/กองทัพสหรัฐว้า (United Wa State Party/United Wa State Army: UWSP/UWSA) ได้ลงนามข้อตกลงสันติภาพ (ภาษาพม่าเรียกว่าเญ็งชานเย) พร้อมตั้งเป็นเขตพิเศษ (ภาษาพม่าเรียกว่าอะทูเต่ต๊ะ) ที่ ครอบคลุมบางพื้นที่ทางตอนเหนือของรัฐฉาน ประกอบด้วยเขตเมือง เขตเมืองคือ เมืองโหปั่น (ภาษาถิ่นเรียกว่าโหป่าง) เมืองปั่นซาน (ภาษาถิ่นเรียกว่าป๋างซางหรือป๋างคำ) เมืองนาพาน เมืองปั่นไหว่ (ภาษาถิ่นเรียกว่าป๋างหวาย) และเมืองมายมอ (ภาษาถิ่นเรียกว่าเมืองใหม่) และเมืองแม๊ตมัน (ภาษาถิ่นเรียกว่าหมากหมาง)] ส่วนกองกำลังติดอาวุธแนวร่วม 'อดีตกองทัพรัฐฉาน' ของพรรคคอมมิวนิสต์เบอร์มา (Communist Party of Burma: CPB) ได้ลงนามข้อตกลงสันติภาพ (ภาษาพม่าเรียกว่าเญ็งชานเย) กับ รัฐบาลทหารเมียนมา [วันที่ 27 พฤษภาคม 1989 สภาฟื้นฟูกฎหมายและกฎระเบียบแห่งรัฐ (State Law and Order Restoration Council: SLORC) ประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศจากเบอร์มาเป็นเมียนมา] ในวันที่ 2 กันยายน 1989 พร้อมตั้งเป็นเขตพิเศษ (ภาษาพม่าเรียกว่าอะทูเต่ต๊ะ) ที่ 5 มีโครงสร้างกำลังประกอบด้วย กองบัญชาการกลางแสงแก้ว กองพลน้อยที่ 1 กองพลน้อยที่ 3 และกองพลน้อยที่ 7 รับผิดชอบพื้นที่เขตเมืองน้ำคำ เขตเมืองตี่ปอ (ภาษาถิ่นเรียกว่าสี่ป้อ) เขตเมืองจ๊อกแม เขตเมืองมายชู (ภาษาถิ่นเรียกว่าเมิงสู้) เขตเมืองตั้นยาน (ภาษาถิ่นเรียกว่าต้างยาน) เขตเมืองมายแหย่ (ภาษาถิ่นเรียกว่าเมิงไหย) เขตเมืองเจตี (ภาษาถิ่นเรียกว่าเกซี) และเขตเมืองลาโช (ภาษาถิ่นเรียกว่าล่าเสี้ยว) ทางตอนเหนือรัฐฉาน อย่างไรก็ตาม กองทัพเมียนมา (ภาษาพม่าเรียกว่าตั๊ดม่ะด่อ) ยังคงโจมตีพื้นที่ ในช่วงก่อนการเลือกตั้งทั่วไปภายใต้รัฐธรรมนูญ ปี ค.ศ. 2008 (เป็นการเลือกตั้งที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน  2010) ในเดือนเมษายน 2009 รัฐบาลทหารเมียนมาได้ประกาศแผนการบังคับกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ให้แปลงสถานะเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดน (Border Guard Force: BGF) ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกองทัพเมียนมา (ภาษาพม่าเรียกว่าตั๊ดม่ะด่อ) หรือกองกำลังรักษาดินแดน (Home Guard Force: HGF) ในภาษาพม่าเรียกว่า ‘ปฺยี่ตู๊ซิ๊ต’ อยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพเมียนมา (ภาษาพม่าเรียกว่าตั๊ดม่ะด่อ) รวมถึงการยกเลิก ข้อตกลงหยุดยิง (ภาษาพม่าเรียกว่าอะปิ๊ดอะคัดแย๊ดแซเย) และข้อตกลงสันติภาพ (ภาษาพม่าเรียกว่าเญ็งชานเย) แบบทวิภาคี ที่ผ่านมาทั้งหมด แต่กองกำลังติดอาวุธแนวร่วม 'อดีตกองทัพรัฐฉาน' ในพื้นที่เขตพิเศษ (ภาษาพม่าเรียกว่าอะทูเต่ต๊ะ) ที่ 5 ปฏิเสธข้อเสนอของรัฐบาลทหารเมียนมา กองทัพเมียนมา (ภาษาพม่าเรียกว่าตั๊ดม่ะด่อ) ก็มีท่าทีเป็นศัตรูมากขึ้นเรื่อยๆ และที่สุดในวันที่ 10 พฤษภาคม 2010 กองพลน้อยที่ 3 ได้ยินยอมแปลงสถานะเป็นกองอาสารักษาดินแดน (Home Guard Force: HGF) ชื่อทางการว่า หน่วยอาสาสมัครประชาชน (People’s Militia Force: PMG) เขตการปกครองที่ 22 มีเขตการควบคุมพื้นที่ตำบลมายเค (ภาษาถิ่นเรียกว่าเมิงเคอ) เขตเมืองตี่ปอ (ภาษาถิ่นเรียกว่าสี่ป้อ) แขวงจ๊อกแม รัฐฉานตอนเหนือ กองบัญชาการกลางแสงแก้ว ยินยอมแปลงสถานะเป็นกองอาสารักษาดินแดน (Home Guard Force: HGF) แยกออกเป็น 2 หน่วย ชื่อทางการว่า หน่วยอาสาสมัครประชาชน (People’s Militia Force: PMG) เขตการปกครองที่ 23 มีเขตการควบคุมพื้นที่ตำบลสิ่นจฺย้อ (ภาษาถิ่นเรียกว่าแสงแก้ว) เขตเมืองตี่ปอ (ภาษาถิ่นเรียกว่าสี่ป้อ) แขวงจ๊อกแม รัฐฉานตอนเหนือ และกองพลน้อยที่ 7 ยินยอมแปลงสถานะเป็นกองอาสารักษาดินแดน (Home Guard Force: HGF) ชื่อทางการว่า หน่วยอาสาสมัครประชาชน (People’s Militia Force: PMG) เขตการปกครองที่ 31 มีเขตการควบคุมพื้นที่ตำบลก๋าลี้ เขตเมืองกุ่นเฮง (ภาษาถิ่นเรียกว่ากุ๋นเหง) แขวงนั่นซั่น (ภาษาถิ่นเรียกว่าน้ำจ๋าง) รัฐฉานตอนใต้ ส่วนกองพลน้อยที่ 1  ภายใต้การนำของ พลตรี ป่าง ฟ้า (Major General Pang Fa) ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าเป็นการเปลี่ยนสถานะกองกำลังไปอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาหรือการควบคุมของกองทัพเมียนมา (ภาษาพม่าเรียกว่าตั๊ดม่ะด่อ) และได้นำกำลังกองพลน้อยที่ 1 ปะทะสู้รบกับกองทัพเมียนมา (ภาษาพม่าเรียกว่าตั๊ดม่ะด่อ) ต่อมาในเดือนธันวาคมปี 2010 กองพลน้อยที่ 1 ได้มีการประชุมใหญ่ทั้งระดับผู้บังคับบัญชาหน่วย ที่ปรึกษา และฝ่ายปกครอง ที่ฐานที่มั่นบ้านไฮ เขตเมืองเจตี (ภาษาถิ่นเรียกว่าเกซี) แขวงมายชู (ภาษาถิ่นเรียกว่าเมิงสู้) รัฐฉานตอนใต้ ในที่ประชุมมีมติให้ฟื้นฟูจัดตั้งองค์การเมืองในชื่อ พรรคก้าวหน้ารัฐฉาน (Shan State Progressive Party: SSPP) ซึ่งเป็นองค์กรการเมืองเดิมของกองทัพ แต่ได้ยุติบทบาทมาตั้งแต่ปี 1995 พร้อมกันนั้น กองพลน้อยที่ 1 ได้มีมติเห็นชอบใช้ชื่อเป็น  กองทัพรัฐฉาน (Shan State Army: SSA) ซึ่งเป็นชื่อเดิมของกลุ่ม แทนชื่อกองพลน้อยที่ 1 โดยพรรคก้าวหน้ารัฐฉาน/กองทัพรัฐฉาน (Shan State Progressive Party/Shan State Army: SSPP/SSA) ที่ถูกฟื้นฟูขึ้นมาใหม่นี้ มี พลตรี ป่าง ฟ้า (Major General Pang Fa) ผู้บัญชาการกองพลน้อยที่ 1 ได้รับเลือกเป็น ‘เลขาธิการ’ และ ‘ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ’  มีการปรับโครงสร้างใหม่แบ่งกำลังพลออกเป็น 5 กองพลน้อย ได้แก่ กองพลน้อยที่ 1, กองพลน้อยที่ 27, กองพลน้อยที่ 36, กองพลน้อยที่ 72 และ กองพลน้อยที่ 74 แต่ละกองพลน้อยมีกำลังทหาร 3 กองพัน นอกนั้นได้จัดตั้งหน่วยรบพิเศษ หน่วยอาวุธหนัก และหน่วยสารวัตรทหาร เป็นต้น ต่อมาในเดือนมีนาคม 2011 กองทัพเมียนมา (ภาษาพม่าเรียกว่าตั๊ดม่ะด่อ) ได้เสริมกำลังเข้าไปประชิดพื้นที่เคลื่อนไหวของกลุ่มพรรคก้าวหน้ารัฐฉาน/กองทัพรัฐฉาน (Shan State Progressive Party/Shan State Army: SSPP/SSA) ดังกล่าว และเริ่มโจมตี พรรคก้าวหน้ารัฐฉาน/กองทัพรัฐฉาน (Shan State Progressive Party/Shan State Army: SSPP/SSA) ได้ออกแถลงการณ์ประณามรัฐบาลเมียนมาว่าเคยเสนอให้แก้ปัญหาการเมืองด้วยวิธีเจรจาทางการเมืองมาแล้วหลายครั้ง แต่รัฐบาลเมียนมาไม่ได้ให้ความสำคัญ มุ่งแต่สร้างความแตกแยกและกำจัดกลุ่มชาติพันธุ์ โดยยังคงยึดนโยบายตัด 4 ตัด (Four Cuts Strategy) ละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวรัฐฉานต่อเนื่อง และยังส่งกำลังทหารเข้ากดดันจนเกิดการสู้รบกัน ต่อมาพรรคก้าวหน้ารัฐฉาน/กองทัพรัฐฉาน (Shan State Progressive Party/Shan State Army: SSPP/SSA) ได้ลงนามข้อตกลงหยุดยิง (ภาษาพม่าเรียกว่าอะปิ๊ดอะคัดแย๊ดแซเย) แบบทวิภาคีระดับรัฐและลงนามข้อตกลงสันติภาพ (ภาษาพม่าเรียกว่าเญ็งชานเย) ระดับรัฐ/ระดับสหภาพกับกองทัพเมียนมา (ภาษาพม่าเรียกว่าตั๊ดม่ะด่อ) และรัฐบาลเมียนมาเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2012 แต่ไม่ร่วมลงนามในหนังสือสัญญาเกี่ยวกับการยุติการสู้รบทั่วประเทศ (Nationwide Ceasefire Agreement: NCA) ที่มีกำหนดขึ้นในวันที่ 15 ตุลาคม 2015 ณ กรุงเหน่ปฺยี่ด่อ ต่อมา พรรคก้าวหน้ารัฐฉาน/กองทัพรัฐฉาน (Shan State Progressive Party/Shan State Army: SSPP/SSA) ได้เข้าร่วมเป็น สมาชิก คณะกรรมการเจรจาและปรึกษาทางการเมืองแห่งสหพันธรัฐ (Myanmar Peace Commission and Federal Political Negotiation Consultative Committee: FPNCC) ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2017 ในเมืองปั่นซาน (ภาษาถิ่นเรียกว่าป๋างซางหรือป๋างคำ) เขตปกครองตนเองว้า (Wa Self-Administered Division) แห่งรัฐฉาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หรือ สหรัฐว้า (United Wa State) ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของพรรคสหรัฐว้า/กองทัพสหรัฐว้า (United Wa State Party/United Wa State Army: UWSP/UWSA) และการประชุมสมาชิกคณะกรรมการเจรจาและปรึกษาทางการเมืองแห่งสหพันธรัฐ (Myanmar Peace Commission and Federal Political Negotiation Consultative Committee: FPNCC) ระหว่างวันที่ 18-19 สิงหาคม 2017 ในที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันให้ เปา โหย่ว-ฉ่าง (Bao You-Xiang) ผู้นำสูงสุดกลุ่มพรรคสหรัฐว้า/กองทัพสหรัฐว้า (United Wa State Party/United Wa State Army: UWSP/UWSA) เป็นประธานคนที่ 1พลเอก เอ็น ปานละ (General N'ban La) ประธานกลุ่มองค์กรอิสรภาพคะฉิ่น/กองทัพเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independence Organisation/Kachin Independence Army: KIO/KIA) เป็นประธานคนที่ 2เปา โหย่ว-ยี่ (Bao You-Yi) รองประธานคนที่ 1 ของพรรคสหรัฐว้า/กองทัพสหรัฐว้า (United Wa State Party/United Wa State Army: UWSP/UWSA) เป็นเลขาธิการ และ เจ๊า ก๋อ-อาน (Chao Ko-An) รองประธานคนที่ 2 และมนตรีการต่างประเทศ ของพรรคสหรัฐว้า/กองทัพสหรัฐว้า (United Wa State Party/United Wa State Army: UWSP/UWSA) เป็นรองเลขาธิการ กลุ่มประกอบด้วย พรรคสหรัฐว้า/กองทัพสหรัฐว้า (United Wa State Party/United Wa State Army: UWSP/UWSA) , องค์กรอิสรภาพคะฉิ่น/กองทัพเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independence Organisation/Kachin Independence Army: KIO/KIA) , แนวร่วมปลดปล่อยรัฐปะหล่อง/กองทัพแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติดารฺอั้ง (Palaung State Liberation Front/Ta'ang National Liberation Army: PSLF/TNLA) , พรรคเพื่อความจริงและความยุติธรรมแห่งชาติเมียนมา/กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (Myanmar National Truth and Justice Party/Myanmar National Democratic Alliance Army: MNTJP/MNDAA) หรือที่รู้จักกันในชื่อ กองกำลังโกก้าง , สหสันนิบาตแห่งอาระกัน/กองทัพอาระกัน (United League of Arakan/Arakan Army: ULA/AA) , คณะกรรมการสันติภาพและความเป็นปึกแผ่น/กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติ (Peace and Solidarity Committee/National Democratic Alliance Army: PSC/NDAA) หรือ ที่รู้จักกันในชื่อ กองกำลังเมืองลา และ พรรคก้าวหน้ารัฐฉาน/กองทัพรัฐฉาน (Shan State Progressive Party/Shan State Army: SSPP/SSA)







แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น