เส้นทางสายทหารของ พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย






รัฐธรรมนูญฉบับปี 2551(2008) ที่คลุมเครือและไม่ชัดเจน ได้สร้างความสับสนต่อสมาชิกสภานิติบัญญํติ และผู้เชี่ยวชาญว่า ผู้บัญชาการทหารจะต้องได้รับการอนุญาตจากประธานาธิบดี หรือการแก้ไขกฎหมายหรือไม่ เพื่อให้ได้รับการขยายระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ด้วยกฎระเบียบในปัจจุบันกำหนดว่า ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเกษียณอายุที่ 60 ปี มีประกาศในที่ประชุมรายไตรมาสของนายทหารระดับสูง เรื่องการขยายเวลาการดำรงตำแหน่งออกไปอีก 5 ปี ของ พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด โดยไม่มีการชี้แจงถึงพื้นฐานทางกฎหมายต่อเรื่องดังกล่าว และไม่ได้อธิบายว่าการตัดสินใจดังกล่าวจะต้องได้รับอนุมัติจากประธานาธิบดีหรือไม่

 



ข้อสังเกต ในปี 2559 พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย อายุ 60 ปี จากการขยายเวลาการดำรงตำแหน่งออกไปอีก 5 ปี จะเกษียณราชการในปี 2564 ขณะที่ปลายปี 2663 จะมีการเลือกตั้งทั่วไป ถ้า NLD ไปไม่รอด ประชาชนเสื่อมศรัทธา เพราะนางอองซาน ซูจี นอกจากอายุมากแล้ว แทนที่จะมอบงานให้คนอื่น แล้วตัวเองคอยกำกับดูแล กลับกระโดดลงไปเล่นเอง เวลานี้ ขาข้างหนึ่ง ติดหล่มอยู่ในรัฐยะไข่ ขาอีกข้างก็ติดหล่มกระบวนการสร้างสันติภาพ ซึ่งคงไม่ได้ผล เพราะจะให้ได้ผลต้องแก้ไข รธน. แต่ติดที่ฝ่ายทหารยังไม่ยอม ในปี 2563 พล.อ. เมียะทุนอู นนร.รุ่น 25 อายุ 58 (ซึ่งอาจได้ยศ รอง พล.อ.อาวุโส และเป็น รอง ผบ.ทหารสูงสุด/ผบ.ทบ. แทน รอง พล.อ.อาวุโส โซวิน ที่ต้องเกษียณเมื่ออายุ 60) ก็จะได้เป็น ผบ.ทหารสูงสุดแทน พอถึงปลายปี 2568 มีการเลือกตั้งทั่วไป พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ซึ่งอายุ 69 อาจหลีกทางให้ พล.อ. เมียะทุนอู ซึ่งจะมีอายุ 63 มาสืบทายาทต่อไป ส่วนใครจะมาเป็น ผบ.ทหารสูงสุด คนต่อไป ขณะนี้ยังไม่เห็นตัว แต่ก็คาดกันว่า ต้องเป็นใครสักคน ใน นนร.รุ่น 30 หรือ 31


 



จากประวัติและผลงาน นับตั้งแต่เข้ารับราชการทหาร พล.อ. อาวุโส มินอ่องหล่าย ได้รับการจับตามองอย่างมากในฐานะดาวดวงใหม่แห่งกองทัพพม่า(Tatmadaw) เลยทีเดียว เริ่มต้นขึ้นหลังสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันชาติแห่งประเทศพม่า รุ่มที่ 19 หลังจากนั้นได้รับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการรัฐมอญ ต่อมาในปี 2545 ได้รับตำแหน่งผู้บังคับบัญชาการกองบัญชาการกรมทหารภาคสามเหลี่ยมในรัฐฉาน ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการเจรจากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย 2 กลุ่มคือ กองทัพแห่งรัฐว้า และกองกำลังเมืองลา ในปี 2552 ชื่อของ พล.อ. อาวุโส มินอ่องหล่าย เริ่มฉายแววโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัด จากการเป็นผู้นำกำลังเข้าต่อต้านกลุ่มกองกำลังโกก้าง ส่งผลให้มีผู้อพยพราว 35,000 คนลี้ภัยไปจีน หลังจากนั้น ในปี 2553 พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ซึ่งในขณะนั้นมียศเป็น พล.ท. ได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการกองยุทธการพิเศษที่ 2 หน่วยบัญชาการทหารภาครัฐฉานและรัฐกะเหรี่ยง พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย นับเป็นทหารที่มีผลงานโดดเด่นอย่างมาก และได้รับความไว้วางใจจาก พล.อ.อาวุโส ตานฉ่วย อดีตผู้นำประเทศ และผู้นำทหารสูงสุดของประเทศพม่าเป็นอย่างมาก ต่อมาจึงได้รับการสืบทอดตำแหน่งจากพล.อ.อาวุโส ตานฉ่วย ให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาการสูงสุดของกองทัพจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ในฐานะผู้บัญชาการกองทัพพม่า พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ยังถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการปกครองระบอบประชาธิปไตยของพม่า ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2551(2008) ผู้บัญชาการกองทัพพม่ามีอำนาจโดยชอบธรรมที่จะเข้าบริหารประเทศทันทีหากว่าสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นอยู่ในภาวะฉุกเฉิน ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2554 พล.อ. มินอ่องหล่ายเป็นตัวแทนรัฐบาลกรุงเนปิดอว์เดินทางไปเจรจากับรัฐบาลจีนที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางการทหารของสองประเทศ รวมถึงได้เข้าพบปะพูดคุยกับประธานาธิบดี สีจิ้งผิง ซึ่งขณะนั้นอยู่ในตำแหน่งรองประธานาธิบดีจีน พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย มีจุดยืนสนับสนุนทหารอย่างค่อนข้างชัดเจน และไม่ค่อนข้างจะเพิกเฉยต่อการปฎิรูปประเทศตามแนวทางประชาธิปไตยของประธานาธิบดีเต็งเส่ง ซึ่งเห็นได้จากการการเพิกเฉยต่อคำสั่งของผู้นำประเทศเมื่อเดือนธันวาคม 2554 ที่สั่งให้กองทัพยุติการสู้รบกับกองกำลังคะฉิ่น ก่อนหน้าที่จะเกิดการเจรจาสันติภาพ ยิ่งไปกว่านั้น จุดยืนที่ขัดแย้งกับประธานาธิบดี เต็ง เส่ง ยังเห็นได้ชัดเจน จากการกล่าวสุนทรพจน์ของพล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ในปี 2555 เนื่องในวันกองทัพ (ปี 2555) ที่กรุงเนปิดอว์ โดยตอกย้ำชัดเจนว่า กองทัพจะยังคงมีบทบาททางการเมืองของประเทศต่อไป และอย่างไรก็ตาม พล.อ.มิน อ่อง หล่ายได้ออกมาให้สัมภาษณ์ในภายหลังยืนยันหนักแน่นว่า กองทัพยังคงสนับสนุนรัฐบาลในการผลักดันประเทศในการดำเนินไปตามแนวทางของประชาธิปไตยแน่นอน


 



ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2559 พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ผบ.ทหารสูงสุดพม่า พร้อมด้วย พล.อ.เมียะทุนอู เสธ.ทหารและคณะเดินทางไปเยือนจีนได้เข้าพบปะพูดคุยกับประธานาธิบดี สี จิ้งผิง

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น